หลังจากมีการอัปเดตระบบอีเมลบุคลากรใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งานอีเมล ทางสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้รวบรวมข้อแนะนำที่น่าสนใจให้ผู้ใช้งานอีเมล ได้นำไปเป็นแนวทางในการใช้งานต่อไป
- กำหนดรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยากเข้าไว้
การมีรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบัญชีอีเมลแอดเดรส เนื่องจากอีเมลแอดเดรสใช้สำหรับยืนบันตัวตนกับบริการต่างๆ หากผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้าถึงอีเมลของเราได้ คนเหล่านั้นอาจใช้อีเมลของคุณในการรีเซตรหัสผ่านบัญชีอื่นๆของคุณ เช่น บัญชีธนาคารและชอปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้รหัสผ่านของเราแข็งแกร่งขึ้น เราต้องเพิ่มองค์ประกอบเหล่านี้เข้าไปในรหัสผ่าน
- ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละบัญชี และไม่ซ้ำกับรหัสผ่านเดิมที่เคยใช้งานมาก่อน
- ทำให้รหัสผ่านยาวเข้าไว้ ความยาวยิ่งมาก ผู้ไม่ประสงค์ดียิ่งคาดเดายากมากยิ่งขึ้น
ข้อแนะนำ รหัสผ่านที่ซับซ้อนแต่สั้น จะถูกโจมตีได้ง่ายกว่ารหัสผ่านที่ยาว ดังนั้นทั้งยาวและซับซ้อนจะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยควรมี 8 ตัวอักษรขึ้นไป
หรือสามารถดูข้อแนะนำการตั้งค่ารหัสผ่านให้ปลอดภัย เพิ่มเติมได้จาก รหัสผ่าน (Password) ตั้งค่าอย่างไรให้ปลอดภัย
- เก็บรักษารหัสผ่านไว้ให้เป็นความลับมากที่สุด
อย่างที่ทราบกันดีว่า รหัสผ่านอีเมลเป็นเหมือนกุญแจตู้เซฟเอกสารที่เก็บข้อมูลไม่เพียงแต่ข้อมูลส่วนตัวของเรา แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลขององค์กรเอาไว้ด้วย
- กลัวไว้ก่อน ถ้าเจออีเมลแปลกๆ อย่าตอบกลับอีเมลที่ทำการขอรหัสผ่านหรือข้อมูลส่วนตัวของคุณโดยทันที
จงระวัง และตรวจสอบให้ดีดังนี้
- อีเมลฉบับนั้น ส่งมาจากใคร เราเคยติดต่อด้วยหรือไม่ อาจเป็นชื่อปลอม ต้องตรวจสอบอีเมลแอดเดรสว่าใช่ของจริงหรือไม่
- มีเนื้อหาเชิงบังคับขอข้อมูลเช่นว่า หากไม่ปฏิบัติตามบัญชีของท่านจะถูกระงับ หากไม่ส่งข้อมูลอาจโดนดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นต้น โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะไม่ขอข้อมูลเหล่านี้ของผู้ใช้งาน ดังนั้นห้ามตอบกลับอีเมลในลักษณะนี้เด็ดขาด หากไม่แน่ใจให้สอบถามกับผู้ให้บริการโดยตรง
- มีการแนบลิงค์เชื่อมโยง อาจเชื่อมโยงไปยังลิงค์เว็บไซต์แปลกปลอมอันตราย ควรตรวจสอบก่อนคลิกดำเนินการใดๆทุกครั้งว่า ลิงค์ที่เราจะกดไปนั้น ใช่เว็บไซต์จริงเป็นทางการ หรือเว็บไซต์ธนาคารจริงหรือไม่
- หากมีไฟล์แนบ ก็ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมาจากบุคคลที่เราไม่รู้จัก อาจมีไวรัสแฝงอยู่และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสได้
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลหลอกลวง : วิธีตรวจสอบ E-mail ที่เป็นอันตรายเบื้องต้น
- กิจกรรมล่าสุด เราสามารถตรวจสอบได้ เมื่อมีเหตุการณ์น่าสงสัยเกิดขึ้น
หากเกิดเหตุการณ์ที่น่าสงสัยเกิดขึ้น เราสามารถตรวจสอบการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ได้จาก หน้ากิจกรรมล่าสุด เพื่อตรวจสอบว่าเหตุการณ์นั้นๆใช่เราเป็นคนกระทำเองหรือไม่
เส้นทางการเข้าหน้ากิจกรรมล่าสุด
มองหาแถบเมนูทางด้านขวาบน แล้วคลิกที่รูป Profile
คลิกที่ View Account ตามรูป
จากนั้นคลิกที่ Review Recent Activity ตามรูป
เพื่อเข้าสู่ หน้ากิจกรรมล่าสุด
ตัวอย่างหน้ากิจกรรมล่าสุด
ในรายการกิจกรรมล่าสุดจะบอกว่า มีการลงชื่อเข้าใช้วัน เวลาใดบ้าง สถานที่ (Location) ระบบปฏิบัติการที่ใช้ (Operating System) เว็บบราวเซอร์ (Browser) ไอพีแอดเดรส (IP) เข้าใช้งานในส่วนใด (App) ลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีอะไร (Account)
หากตรวจสอบแล้วว่ามีเหตุการณ์แปลกๆที่ไม่ใช่เราเป็นผู้เข้าใช้งาน แนะนำให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้ที่ บริการเปลี่ยน/รีเซ็ต รหัสผ่าน
- ตรวจสอบการอัปเดตสม่ำเสมอว่าระบบปฏิบัติการของคุณเป็น Version ล่าสุด
ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความปลอดภัยให้ฟรี เนื่องจากอัปเดตจะช่วยให้อุปกรณ์ Smart Device และ Computer ของคุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเราจึงขอแนะนำให้หมั่นตรวจสอบการอัปเดตเหล่านี้เป็นประจำ หรือสามารถตั้งค่าให้ระบบปฏิบัติการรับการอัปเดตโดยอัตโนมัติ โดยดูวิธีการตั้งค่าได้จาก วิธีการอัปเดต Windows รวมไปถึงการอัปเดต Browser ที่ใช้งานเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยให้ใช้งานอีเมลและเว็บไซต์ได้ปลอดภัยขึ้นเช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิง
Microsoft – วิธีช่วยปกป้องบัญชี Microsoft ของคุณให้ปลอดภัย
Trend Micro Inc. – Build a Strong Security Awareness Program