สำหรับอาจารย์
- ใช้งานได้ไม่จำกัดระยะเวลา- รองรับผู้ร่วมประชุม 300 คน
- ได้รับสิทธิ์การใช้งาาน zoom โดยอัตโนมัติ
- ถ้าซื้อ license ไว้ก่อนหน้านี่ เมื่อเข้าใช้งาน ระบบจะให้ merge account หรือ ให้เปลี่ยนอีเมลที่ผูกกับ accountถ้าก่อนหน้านี้เป็น Basic License แนะนำให้ Merge เพราะจะได้ Licensed ใหม่ไปแทน
แต่ถ้าก่อนหน้านี้เป็น License แบบซื้อ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใช้ ถ้าอยากจะใช้ license เดิมต่อไปก็ต้องเปลี่ยน email
ถ้าจะ Merge กับของมหาวิทยาลัย ก็จะได้เป็น License แบบซื้อเช่นเดียวกัน
และระบบจะ refund ให้ตามระยะเวลาที่เหลือใน subscriptionรายละเอียดการ merge license https://support.zoom.us/hc/en-us/articles/360035969131-Account-Consolidation-with-Managed-Domain
สำหรับอาจารย์พิเศษ
- ไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งาน zoom โดยอัตโนมัติ (ไม่ได้รับ license)
- สามารถเข้าร่วมประชุมผ่าน zoom ได้ โดยไม่จำเป็นต้องต้องมี license และจะสมัครใช้ zoom หรือไม่ก็ได้ สมัครและเข้าใช้ที่ https://zoom.us ได้เท่านั้น จะใช้อีเมลใด ๆ สมัครก็ได้
- หากมีความประสงค์ใช้งาน zoom เพื่อเป็น host ในการจัดประชุมและเชิญประชุม ขอให้หน่วยงานต้นสังกัดทำบันทึกข้อความจากคณะเพื่อยืนยันว่าเป็นอาจารย์ประจำคณะ ส่งมาที่สบท. ระบุอีเมลที่ต้องการขอใช้ (อีเมล @chula.ac.th เท่านั้น)
- กรณียังไม่เคยมี CUNET Account ให้หน่วยงานต้นสังกัด ทำบันทึกเพื่อขอสร้าง CUNET Account พร้อมกับผูก zoom license
สำหรับนิสิต
- ไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งาน zoom โดยอัตโนมัติ (ไม่ได้รับ license) เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักจะให้สิทธิ์อาจารย์ผู้สอนใช้งานเป็น host สร้างห้องประชุม
- สามารถเข้าเรียนผ่าน zoom ได้ โดยไม่จำเป็นต้องต้องมี license และจะสมัครใช้ zoom หรือไม่ก็ได้ สมัครและเข้าใช้ที่ https://zoom.us ได้เท่านั้น จะใช้อีเมลใด ๆ สมัครก็ได้
- นิสิตที่เคยเข้าใช้ด้วยอีเมล @student.chula.ac.th อยู่ก่อนแล้วจะเข้าระบบไม่ได้ ให้ทำการสมัครซ้ำอีกครั้ง โดยใช้อีเมลเดิมได้- สมัครและเข้าใช้งานผ่านเว็บ https://zoom.us ได้เท่านั้น
สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน
- ไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งาน zoom โดยอัตโนมัติ (ไม่ได้รับ license) เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักจะให้สิทธิ์อาจารย์ผู้สอนใช้งานเป็น host สร้างห้องประชุม
- สามารถเข้าร่วมประชุมผ่าน zoom ได้ โดยไม่จำเป็นต้องต้องมี license และจะสมัครใช้ zoom หรือไม่ก็ได้ สมัครและเข้าใช้ที่ https://zoom.us ได้เท่านั้น จะใช้อีเมลใด ๆ สมัครก็ได้- หากมีความจำเป็นต้องมี zoom license เพื่อเป็น host ในการจัดประชุมและเชิญประชุม ขอให้หน่วยงานต้นสังกัด ทำบันทึกข้อความเพื่อยืนยันการใช้งานดังกล่าว ส่งมาที่ สบท.ระบุอีเมลที่ต้องการขอใช้ (อีเมล @chula.ac.th เท่านั้น)
นิสิตไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งาน zoom ด้วย license ของมหาวิทยาลัย จึงไม่สามารถเข้าใช้งานที่ https://chula.zoom.us ได้ ทำให้พบหน้าจอตามภาพ
นิสิตต้องยืมใช้งานก่อนที่ https://licenseportal.it.chula.ac.th
[link]
ดาวน์โหลดข้อมูลใน Google Drive ด้วย Google Takeout
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่ https://takeout.google.com ระบบจะเลือกข้อมูลทั้งหมด หากต้องการเลือกบางอย่างให้ยกเลิกทั้งหมดออกก่อน แล้วเลือกเฉพาะที่ต้องการ เช่น Drive
ขั้นตอนที่ 2 เลือกข้อมูลตามต้องการได้แล้ว เลื่อนลงไปล่างสุดคลิก next step
ขั้นตอนที่ 3 เลือกวิธีดาวน์โหลดไฟล์ (แนะนำเป็น Send download link via email)
ขั้นตอนที่ 4 หากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ระบบจะแบ่งไฟล์ออกหลาย ๆ ไฟล์ สามารถเลือกขนาดแต่ละไฟล์ได้แต่ละไฟล์ก็จะมีขนาดตามที่เราเลือก เช่น ข้อมูลคุณมีขนาด 50 GB เลือกแบ่งไว้ไฟล์ละ 10 GB ก็จะเป็นไฟล์ย่อย 5 ไฟล์
ขั้นตอนที่ 5 คลิก Create export ระบบจะเตรียมไฟล์ เมื่อพร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว จะได้รับอีเมลแจ้ง link ให้ดาวน์โหลด (ช้า-เร็วขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูล)
[link]
กรณีที่มีการใช้งานบัญชีมากกว่า 1 บัญชี เช่น ใช้ gmail ส่วนตัว
หากต้องการสลับบัญชีเพื่อใช้งาน @chula.ac.th หรือ @student.chula.ac.th หรือ @alumni.chula.ac.th สามารถสลับบัญชีได้โดย
Sign in to multiple account https://support.google.com/accounts/answer/1721977?co=GENIE.Platform%3DDesktop&hl=en
เพิ่มหรือเลือกบัญชีอีกวิธีได้ที่ https://accounts.google.com/AccountChooser
นิสิตที่เข้าใช้งานครั้งแรก
ให้ทำการเข้าใช้งาน Office 365 ก่อนแล้วจึงเข้าใช้ Google Apps ด้วย username password รูปแบบเดียวกันกับ Office 365
[link]
ถาม : ตอนนี้ใช้พื้นที่เกิน 21 GB เมื่อถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2566 จะเป็นอย่างไร
ตอบ : ข้อมูลผู้ใช้งานอาจจะถูกลบหรือสูญหายได้ โปรดสำรองข้อมูลไปยังแหล่งอื่น
ถาม : ถ้าจำเป็นต้องใช้พื้นที่เกิน 21 GB ทำอย่างไร
ตอบ : 1. สามารถใช้บริการ Onedrive ที่มหาวิทยาลัยให้บริการ
2. ดาวน์โหลดข้อมูลโดยใช้ Google Tackout เพื่อนำข้อมูลเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ External Harddrive แทน
ถาม : ผู้ใช้งานสามารถซื้อขนาดพื้นที่เพิ่มเติมได้หรือไม่
ตอบ : Google Workspace for Education ที่มหาวิทยาลัยให้บริการอยู่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก Google จำหน่ายเป็นไลเซนส์การใช้งาน Google Workspace ของมหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่เก็บข้อมูลที่ได้จากไลไซนส์ดังกล่าวจะถูกเพิ่มเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลรวมของมหาวิทยาลัย (Pool Storage) ไม่ได้เป็นพื้นที่ใช้งานส่วนบุคคล
วิธีดูขนาดพื้นที่ของคุณ
เข้าสู่ระบบ Drive แล้วทำตามวิธีดังนี้
1. คลิกรูปเฟือง เลือก Settings

2. คลิก View storage details

3. ระบบจะรายงานขนาดพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ไป
อีเมลบนระบบ Google Workspace ไม่สามารถใช้รับอีเมลได้ อีเมลจุฬาฯ จะต้องเข้าใช้งานในระบบ Outlook เท่านั้น
[link]
วิธีย้ายไฟล์จาก Cloud (Google Drive, Dropbox) มา OneDrive |
![]() ดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ http://bit.ly/MoveToOneDrive ดูวีดีโอสอนการใช้งานได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Vk26pmvDGpM&t=1678s |
ขอบคุณข้อมูลจาก Microsoft Learn Student Ambassadors - Chulalongkorn University
Uninstall Office for Mac
[link]
Excel for Office 365 for Mac Word for Office 365 for Mac More...
You can easily uninstall Office for Mac apps such as Word, Excel, PowerPoint, OneNote, and Outlook using these instructions. You must be signed in as an administrator on the Mac or provide an administrator name and password to complete these steps.Newer versionsOffice for Mac 2011
You must be signed in as an administrator on the Mac or provide an administrator name and password to complete these steps.
Remove Office for Mac applications
- Open Finder > Applications.
- Command +click to select all of the Office for Mac applications.
- Ctrl+click an application you selected and click Move to Trash.

Remove files from your user Library folder
To remove files from your user Library folder, you'll need to first set the Finder View options.
- In Finder, press +Shift+h.
- On the Finder menu at the top, click View > as List, and then click View > Show View Options.
- In the View Options dialog box, select Show Library Folder and save.

4. Back in Finder, open Library > Containers and ctrl+click each of these folders and Move to Trash. Not all of these folders may be present.
- com.microsoft.errorreporting
- com.microsoft.Excel
- com.microsoft.netlib.shipassertprocess
- com.microsoft.Office365ServiceV2
- com.microsoft.Outlook
- com.microsoft.Powerpoint
- com.microsoft.RMS-XPCService
- com.microsoft.Word
- com.microsoft.onenote.mac
5. Warning: Outlook data will be removed when you move the three folders listed in this step to Trash. You should back up these folders before you delete them.
Click the back arrow to go back to the Library folder and open Group Containers. Ctrl+click each of these folders if present, and Move to Trash.
- UBF8T346G9.ms
- UBF8T346G9.Office
- UBF8T346G9.OfficeOsfWebHost
Remove from Dock and restart
- If you put any of the Office applications in your Dock, go to each one and ctrl + click > Options > Remove from Dock.

2. Restart your Mac to complete the uninstall.
ที่มา : Uninstall Office for Mac - Office Support (https://support.office.com/en-ie/article/uninstall-office-for-mac-eefa1199-5b58-43af-8a3d-b73dc1a8cae3)
นิสิตที่จบการศึกษา และเข้ารับปริญญาตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิ์ใช้งาน @alumni.chula.ac.th
นิสิตที่จบการศึกษาก่อนหน้านี้ ไม่ได้รับสิทธิ์ครับ
อีเมลนิสิตเดิม @student.chula.ac.th เมื่อเป็นนิสิตเก่าจะเปลี่ยนเป็น @alumni.chula.ac.th
รหัสผ่านจะเป็นรหัส CUNET ที่เข้า reg chula หากลืมรหัสผ่านสามารถดำเนินการตามระบบของ Microsot 365 ได้ด้วยตนเอง
ปัญหา Activate license เมื่อติดตั้ง Office 365 หากเคยติดตั้ง Office เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้มาแล้ว
วิธีการแบบย่อ
1. ค้นหา Command Prompt คลิกขวาเปิดด้วยสิทธิ์ Administrator (คลิปวิธีการเปิดด้วยสิทธิ์ admin https://youtu.be/E-9uRvsMQmk?t=113)
2. ดู product key โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้ cscript "c:\program files\microsoft office\office16\ospp.vbs" /dstatus
ดูบรรทัดที่ระบุว่า Last 5 characters of installed product key: xxxxx (xxxxx คือ product key ของแต่ละเครื่อง) บางเครื่องอาจมีมากกว่า 1 key จดโน้ต key เหล่านี้ไว้เพื่อใช้ในการลบ
3. ลบ key โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้ cscript "c:\program files\microsoft office\office16\ospp.vbs" /unpkey:xxxxx
(โดยที่ xxxxx คือ key ที่เราได้โน้ตไว้จากข้อ3) หากมีมากกว่า 1 ให้ใช้คำสั่งนี้ซ้ำโดยเปลี่ยน key เป็นตัวต่อไปจนครบตามจำนวน key
4. Sign out และปิดโปรแกรม Microsoft Office
5. เปิดโปรแกรม Microsoft Office แล้ว sign in อีกครั้ง
วิธีการแบบละเอียด
1. Remove Office 365 license for Subscription based installs (not Shared Computer Licensing scenarios):
To remove the Office 365 license, you must run two cscript command lines. The command lines are:
A. Run C:\program files <x86>\Microsoft office\office15>cscript ospp.vbs /dstatus
The above command line will generate a report of the currently installed/activated license. (See Below)

NOTE: You might see multiple licenses in the /dstatus report.
B. Make note of value for “Last 5 characters of installed product key”
C. Run C:\program files <x86>\Microsoft office\office15>cscript ospp.vbs /unpkey:“Last 5 of installed product key” For example: C:\program files <x86>\Microsoft office\office15>cscript ospp.vbs /unpkey:WB222 (See Below) Repeat the step above if necessary until all keys are removed.

After running the /unpkey: command line you will see a “Product Key uninstall successful” message. You can now close the Command Prompt and open again.
ที่มา : https://blogs.technet.microsoft.com/odsupport/2015/05/01/how-to-reset-an-office-365-install-to-the-initial-activationinstall-state
1. เข้าสู่ระบบ office 365 ตามปกติ
2. ไปที่ url : https://myapps.microsoft.com
3. คลิกที่ชื่อผู้ใช้ มุมขวามือ เลือก Profile

4. คลิก Set up self service password reset

5. คลิก re-enter my password

6. คลิก Change แล้วระบุหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ที่ต้องการ หลังจาก verify แล้วกด finish

[link]
ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด 5 ก.ค. 67
ถาม : ขนาดพื้นที่เท่าไหร่
ตอบ : บุคลากร 1 TB นิสิตก่อนปี 2567 สามารถใช้งาน 1 TB, นิสิตใหม่ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป สามารถใช้งาน 1 GB
ถาม : ขอเพิ่มพื้นที่ได้หรือไม่
ตอบ : ไม่สามารถเพิ่มให้ผู้ใช้งานได้
ถาม : บัญชีหน่วยงานต้องการขอเพิ่มพื้นที่ได้หรือไม่
ตอบ : สามารถทำบันทึกขอใช้งานเพิ่มเติมมาจากคณะ/ภาควิชา/ส่วนงานที่สังกัด มาที่สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
วิธีดูขนาดพื้นที่ของคุณ
โดยเข้าสู่ระบบ OneDrive แล้วทำตามวิธีดังนี้
1. คลิกที่รูปเฟือง เลือก OneDrive settings

2. คลิก More Settings เลือก Storage Matrics

3. รายงานผลการใช้พื้นที่

1. เปิดเว็บไซด์ https://login.microsoftonline.com
2. นิสิตที่เลขประจำตัวขึ้นต้น 50-59 ใช้ username ชื่ออีเมลนิสิต เช่น firstname.l@student.chula.ac.th หากเป็นบุคลากรใช้อีเมลบุคลากรเช่นกัน

นิสิตที่เลขประจำตัวขึ้นต้น 60 เป็นต้นไป ใช้ username ชื่ออีเมลนิสิต เช่น 6034567890@student.chula.ac.th

3. password ใช้รหัสผ่าน CUNET หรือรหัสผ่านเดียวกับระบบลงทะเบียน reg chula หากเป็นบุคลากรใช้รหัสผ่าน CUNET หรือรหัสผ่านเดียวกับอีเมล
4. หากเข้าใช้งานครั้งแรก ระบบจะให้เลือกการยืนยันตัวตน 2 ช่องทาง ต้องเลือกอย่างน้อย 1 ช่องทาง

เมื่อการเข้าใช้งานเสร็จเรียบร้อย จะพบหน้าหลักของระบบ

eduroam (http://www.eduroam.org) เป็นเครือข่ายโรมมิ่งสำหรับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยเพื่ออำนวยความ สะดวกให้นิสิตและบุคลากรที่ต้องเดินทางไปเยือนสถาบันสมาชิกสามารถใช้ งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่ออกให้ โดยสถาบันต้นสังกัดอธิบายอย่างง่าย ๆ ดังนี้1. username ของ CUNET ยกตัวอย่าง lfirst (เช่นเดียวกับตอนเข้าระบบอีเมลและระบบระบุตัวตัน) เมื่อใช้ eduroam ก็จะใช้เป็น lfirst@eduroam.chula.ac.th 2. eduroam คือ ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกซึ่งสามารถใช้ account ที่ใช้งานอยู่ของมหาวิทยาลัยตัวเอง นำไปใช้ได้เมื่อไปเยี่ยมชม, ดูงาน ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ร่วมโครงการด้วยนั้น เช่น นิสิตหรือบุคลกรของจุฬาฯ ไปประชุม, เยี่ยมชม, ดูงาน ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่ออยู่ที่นั้นสามารถใช้ username ดังกล่าวเชื่อมต่อกับสัญญาณชื่อ eduroam ของที่ มช. ได้เลยหรือนิสิตหรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาประชุม, เยี่ยมชม, ดูงาน ณ จุฬาฯ ก็สามารถใช้ username ของ มข. เชื่อมต่อกับสัญญาณชื่อ eduroam ในจุฬาฯ ได้ 3. จะทราบได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยใดร่วมมือบ้าง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก http://eduroam.uni.net.th และ http://www.eduroam.org
[link] หากพบว่าปุ่ม Connect (เชื่อมต่อ) ไม่สามารถกดได้ ให้ระบุค่า CA Certificate (ใบรับรอง) เป็น unspecified (ไม่ระบุ)

สำหรับ Android 11 หากไม่สามารถเชื่อมต่อได้ จะต้องทำการติดตั้ง Certificate (ใบรับรอง)
ดาวน์โหลด Certificate (โดยกรอก login และรหัสผ่าน cunet จึงจะโหลดได้)
คู่มือการตั้งค่าเชื่อมต่อ
โปรดทำการเปลี่ยนรหัสผ่านทางเว็บไซด์ www.it.chula.ac.th
คลิกไอคอน Reset Password
เมื่อเปลี่ยนรหัสผ่านแล้ว จึงเชื่อมต่อใหม่อีกครั้ง
นิสิตใช้งานอินเทอร์เน็ตภายนอกไม่ได้ หากถูกระงับสิทธิ์การใช้งาน
เนื่องจากไม่ได้ทำการประเมิน http://www.cas.chula.ac.th
กำหนดระยะเวลาของการระงับสิทธิ์นั้น สามารถดูรายละเอียดได้จากอีเมลแจ้งเรื่องถูกระงับสิทธิ์ฯ ที่จัดส่งไปยังอีเมลนิสิต
เมื่อครบกำหนดจะได้รับสิทธิ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามปกติ
แนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเมื่อนิสิตไม่ทำการประเมิน
ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ CU CAS
หากท่านไม่สามารถ Login เข้าระบบได้กรุณาติดต่อ สำนักบริหารวิชาการ: DAD.OAA@chula.ac.th


ระบบนี้เป็นระบบสำหรับเพื่อเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติ การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้บริการ(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เก็บข้อมูลจราจร คอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้
ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
- หากเป็นอุปกรณ์ mobile device สาเหตุปัญหาเกิดจากอุปกรณ์ mobile device เองที่ไม่รองรับ multitasking อ่านเพิ่มเติมหัวข้อ เหตุใดระบบเครือข่ายไร้สาย NirasNet จึงหลุดบ่อย
- หากเป็นคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊คและใช้เครือข่ายไร้สาย ปัญหามักเกิดจากใช้งานเครือข่าย NirasNet บริเวณที่สัญญาณค่อนข้างต่ำทำให้การเชื่อมต่อมีลักษณะติดดับ เมื่อระบบ login สำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (ระบุตัวตนและสิทธิของผู้ใช้บริการ) ซึ่งตรวจสภาพการเชื่อมต่อทุก 5 นาทีไม่พบการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ ระบบฯ จะตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานต้อง login ใหม่เมื่อเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายได้ (อาการหลุดบ่อย)
ถาม : การอ่านไฟล์ PDF ต้องใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Pro ของมหาวิทยาลัยหรือไม่
ตอบ : ไม่จำเป็นต้องใช้รุ่น Pro (ไม่ต้องยืมใช้งาน Adobe) สามารถใช้เป็น Acrobat Reader ดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรีที่ https://www.adobe.com/th_en/acrobat/pdf-reader.html
ถาม : บุคลากรใช้ระบบ lesspaper จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Pro ของมหาวิทยาลัยหรือไม่
ตอบ : ไม่จำเป็นต้องใช้ ผู้ใช้งานสามารถใช้ Lesspaper และดูเอกสาร ในระบบ Lesspaper โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Pro (ไม่ต้องยืมใช้งาน Adobe)
กรณีเคยติดตั้ง adobe license เดิมของจุฬาฯ ก่อนวันที่ 28 เมษายน 2566 ในการปรับเปลี่ยนจาก license เดิม ต้องทำการลบ license เดิมนั้นออกก่อน ทำเพียงครั้งเดียวการใช้งานครั้งต่อไปไม่ต้องทำ โดยใช้ Cleaner Tool ดูวิธีอย่างละเอียดได้ที่ https://helpx.adobe.com/creative-cloud/kb/cc-cleaner-tool-installation-problems.html
สำหรับ windows https://swupmf.adobe.com/webfeed/CleanerTool/win/AdobeCreativeCloudCleanerTool.exe
สำหรับ macos https://swupmf.adobe.com/webfeed/CleanerTool/mac/AdobeCreativeCloudCleanerTool.dmg
กรณีห้องคอมพิวเตอร์ของคณะ/ส่วนงาน
จะกำหนด Adobe License แบบไม่ต้องยืมคืน เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานในห้องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถใข้งาน Adobe ได้ทันที เพียงผู้ใช้ (ทั้งนิสิต และบุคลากร) ทำการ sign-in ด้วย CUNET Account ของมหาวิทยาลัย โดยขอให้คณะ/ส่วนงาน กรอกรายละเอียดที่ใช้ในห้องคอมพิวเตอร์ ตามแบบฟอร์ม (หรือไฟล์ Excel) ที่ สบท. จะส่งไปพร้อมบันทึกข้อความ และส่งกลับมาที่ สบท. เพื่อดำเนินการต่อไป
กรณีบุคลากรที่ทำงานด้านกราฟิก
โปรแกรม อาทิ Photoshop Illustrator เป็นต้น จะกำหนด Adobe License แบบไม่ต้องยืมคืน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปด้วยความราบรื่น โดยขอให้คณะ/ส่วนงาน กรอกรายละเอียด ระบุชื่อ-นามสกุล และตำแหน่งงาน ของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ตามแบบฟอร์ม (หรือไฟล์ Excel) ที่ สบท. จะส่งไปพร้อมบันทึกข้อความ และส่งกลับมาที่ สบท. เพื่อดำเนินการต่อไป
กรณีบุคลากรที่ทำงานด้านเอกสาร PDF
โดยเฉพาะการแก้ไขข้อความใน PDF เท่านั้น ที่จำเป็นต้องยืม Adobe License
ส่วนในกรณีดังต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องยืม Adobe License แต่อย่างใด เนื่องจาก Acrobat Reader ปกติ ก็สามารถรองรับการทำงานได้อยู่แล้วได้แก่
- การใช้งาน Lesspaper
- การเพิ่มข้อความใหม่ ลงในเอกสาร PDF
- การเพิ่มภาพลายเซ็น ลงในเอกสาร PDF
- การกรอกข้อความ ลงในแบบฟอร์มเอกสาร PDF
Foxit PDF Editor Subscription เป็นโปรแกรมที่ช่วยทำงานเอกสาร และแบบฟอร์ม PDF ที่มีแพลตฟอร์มครบวงจรเพื่อเปิดดู สร้าง แก้ไข แบ่งปัน ป้องกันข้อมูล จัดระเบียบ ส่งออก และเซ็นต์เอกสาร
ถาม : เราใช้ E-sign ได้ไหมครับ
ตอบ : ปัจจุบัน จุฬาฯ จัดหาสิทธิ์การใช้งาน Foxit PDF Editor เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุม Foxit eSign
ถาม : บุคลกรต้องยืมใช้งานหรือไม่
ตอบ : บุคลากรทุกประเภทไม่ต้องยืมใช้งาน โปรแกรม Foxit ตั้งแต่ 15 กันยายน 2566
[link]
สำหรับกรณีที่พบปัญหาการติดตั้งไม่สำเร็จ ให้ลองติดตั้งด้วย command line (สำหรับใช้งานบน Windows)
1. ปิดการทำงานของโปรแกรม Antivirus ชั่วคราวในระหว่างติดตั้ง
2. move ไฟล์ติดตั้ง (anyconnect-win-4.9.04043-core-vpn-predeploy-k9.msi) ไปวางในตำแหน่งโฟลเดอร์ที่สั้นที่สุด เพื่อง่ายต่อการใช้คำสั่ง (เช่น C: หรือ D:)
3. เปิดโปรแกรม command ด้วยสิทธิ์ administrator วิธีการตามวีดีโอนี้ https://youtu.be/btg5hYs72gc?t=44
4. พิมพ์คำสั่งดังนี้
4.1 หากวางไฟล์ที่ C: ให้พิมพ์ cd\ แล้วกด enter (หากวางไฟล์ที่ D: ให้พิมพ์ d: แล้วกด enter)
4.2 msiexec /i anyconnect-win-4.9.04043-core-vpn-predeploy-k9.msi แล้วกด enter
5. รอกระบวนการติดตั้งแล้วเสร็จ หากไม่ติดปัญหาจะติดตั้งสำเร็จ
Open Terminal and do the following :
cd /opt/cisco/anyconnect/bin sh vpn_uninstall.sh
[link] สถานะการเชื่อมต่อ vpn สำหรับ mac หากตอนติดตั้งโปรแกรมเลือกโมดูลอื่น ๆ ไว้ด้วยจะทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ว่าการเชื่อมต่อไม่สำเร็จ โดยที่การเชื่อมต่อ vpn นั้นไม่ได้ใช้งานโมดูอื่น ๆ เลย แต่สถานะที่แสดงทำให้สับสนได้ ขั้นตอนการติดตั้ง เลือกเฉพาะ VPN เพียงรายการเดียวเท่านั้น ![]() การดูสถานะการเชื่อมต่อ ดูเฉพาะในส่วนของ VPN ว่าเป็นสัญลักษณ์ ถูกสีเขียว คือเชื่อมต่อได้สำเร็จ ![]() โมดูลอื่น ๆ ไม่ต้องสนใจ จากคำแนะนำให้เลือกติดตั้งเฉพาะ VPN เพียงรายการเดียวเท่านั้น แต่หากเลือกโมดูลอื่น ๆ ร่วมด้วยก็จะปรากฎตามภาพ |
1. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Cisco AnyConnect เรียบร้อยแล้วเปิดโปรแกรมใน Start Menu

หรือไอคอน

2. หน้าต่างโปรแกรมจะปรากฎขึ้น พิมพ์ vpn.chula.ac.th ในช่องว่างแล้วกด Connect
3. หน้าต่างถัดไปให้พิมพ์ username password

4. เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้วหน้าต่างโปรแกรมจะหายไป และแสดงไอคอน

ถ้าคลิกดูสถานะจะพบหน้าต่างอีกครั้ง และแสดงสถานะการเชื่อมต่อ

[link] การติดตั้งให้เลือก VPN เพียงรายการเดียวเท่านั้น ► กรณีที่ไม่สามารถเลือกรายการ VPN ได้ |

- From Finder menu, choose Go and then click Utilities.
- Click Terminal.app App.
- Type the following at the command prompt, press Enter, then enter Mac user account account password. รหัสผ่านสำหรับเครื่อง mac ของคุณ ระหว่างที่พิมพ์หน้าจอจะไม่ปรากฎตัวอักษรใด ๆ
sudo pkgutil --forget com.cisco.pkg.anyconnect.vpn

[link] 1. ทำการ update windows ให้เป็นปัจจุบัน 2. หยุดหรือยกเลิกการทำงานของโปรแกรม Antivirus ชั่วคราวก่อน 3. ก่อนการติดตั้งให้คลิกขวาที่ไฟล์ติดตั้ง เลือก Run As Administrator หากลองวิธีข้างต้นแล้วยังพบปัญหาอยู่อาจจะทำตามวิธีนี้ก่อน 1. ให้เปิด This PC ขึ้นมา แล้วไปที่ View ไปคลิ้กที่ Hidden items ด้วย เพื่อให้มองเห็นไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ซ่อนอยู่ 2. ไปที่ C:\User\...จะเห็นว่ามี โฟล์เดอร์ .cisco อยู่ให้ลบโฟล์เดอร์นี้ออก 3. ไปที่ c:\User....\AppData\Local จะมีโฟล์เดอร์ Cisco อยู่ ลบออกเช่นกัน 4. ติดตั้งโดยคลิกขวาที่ไฟล์ติดตั้ง เลือก Run As Administrator อีกครั้ง Microsoft Solution : Step 1: Check the Windows Installer service is running or not Start the Windows Installer service. 1. Click Start, type services.msc and hit enter. 2. From the list of items, double click Windows Installer service. 3. Change the startup type to Automatic and click Start button to start service. 4. Click Apply and then click ok. Check if the issue is resolved. Step 2: Unregister and re-register the Windows Installer 1. Click Start Orb, in the start search box, type MSIEXEC /UNREGISTER, and then click OK. 2. Click Start Orb, in the start search box, type MSIEXEC /REGSERVER, and then click OK. After you run this command, the operation is complete. 3. Now, try your installation again. |
ทุกครั้งที่ใช้งาน SPSS จากภายนอกจุฬาฯ จะต้องทำการเชื่อมต่อ Cisco AnyConnect ก่อนเสมอ
การติดตั้งโปรแกรม SPSS โปรดศึกษาคู่มือการติดตั้งก่อน จุดสำคัญอยู่ที่การเลือกประเภท license หากเลือกผิดจะเปิดใช้งานไม่ได้
[link]
ระบบอีเมล (เดิม) เว็บไซต์ webmail.it.chula.ac.th เมื่อเข้าระบบแล้วพบข้อความดังภาพ

หมายถึง อีเมลได้รับการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ดูวิธีการได้จากคู่มือ https://www.it.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/12/new-email-staff-web.pdf
สำหรับการเข้าใช้อีเมลในครั้งถัดไป สามารถเข้าระบบใหม่ได้ที่ https://outlook.com/chula.ac.th
* การเข้าอีเมลระบบใหม่ ให้ใช้อีเมลจุฬาฯ ในรูปแบบ ชื่อ.นามสกุล@chula.ac.th เป็นสำคัญ
ตัวอย่าง Krarok Rukchula ต้องใช้อีเมล krarok.r@chula.ac.th
mailbox เต็มควรทำอย่างไร
ลดขนาด mailbox ควรทำอย่างไร
keyword ที่แท้จริงคือการ ลบเมล เราจะเลือกลบเมลได้อย่างไรบ้าง
มีคำแนะนำ 4 ข้อเบื้องต้นในการเลือกลบเมลผ่านเว็บเมล ดังต่อไปนี้
1. ลบเมลเก่า
เพื่อให้ง่ายในการลบเมลเก่าจะเรียงให้เมลเก่าอยู่บน

2. ลบเมลที่ส่งแล้ว
หากต้องการลบทั้งหมดใน sent item

3. ลบเมลที่มีไฟล์แนบขนาดใหญ่ จะเรียงให้ขนาดใหญ่อยู่บน

วิธีการ 3 แบบที่ได้กล่าวไปแล้ว จะแสดงผลในแต่ละโฟลเดอร์ที่เลือกอยู่ แน่นอนหากเรามีโฟลเดอร์อื่น ๆ อีกก็คงต้องทำกระบวนการเหล่านี้ซ้ำ ๆ ในทุกโฟลเดอร์ และเมื่อสุดท้ายแล้วเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการตามไปลบเมลใน delete item ด้วยไม่อย่างนั้นพื้นที่ว่างก็จะไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
4. ลบเมลใน delete item

หากต้องการเลือกเมลด้วยเงื่อนไขอื่นที่ขั้นสูงกว่านี้ ต้องพึ่งโปรแกรม mail client ต่าง ๆ เช่น Microsoft Outlook , Thunderbird ซึ่งโปรแกรมเหล่านั้นจะสามารถช่วยให้เลือกเมลได้มากขึ้นเช่น ระบุช่วงเวลา (เมลเก่ากว่า 1 ปี), ระบุขนาด (ใหญ่กว่า 5000KB) ทั้งยังเลือกให้แสดงผลทั้ง mailbox เลยก็ทำได้โดยไม่ต้องเลือกทีละโฟลเดอร์
5 การทำ archive เมลเก่าไว้ในเครื่อง (โดยใช้โปรแกรม MS Outlook)
หากยังไม่เคยตั้งค่าอีเมลกับโปรแกรม MS Outlook ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.it.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/การตั้งค่าเมลสำหรับ-Microsoft-Outlook-แบบ-Exchange.pdf
ในกรณีที่ต้องการเก็บเมลเก่าไว้ต่างหาก เพื่อจะได้ลบเมลเก่าออกจากระบบ
คู่มือการทำ archive
อีเมลบุคลากร ระบบใหม่ มีอะไรใหม่บ้าง
1. URL : https://outlook.com/chula.ac.th
2. Mailbox size 25 GB
3. สร้างการประชุมออนไลน์ บนระบบ MS Teams ได้ทันที
4. เก็บไฟล์แนบไว้บน One Drive ได้สะดวก
อีเมลนิสิต | |
เลขประจำตัวนิสิตขึ้นต้น 50-59 Student ID begin with "50" - "59" | firstname.l@student.chula.ac.th |
เลขประจำตัวนิสิตขึ้นต้น 60 เป็นต้นไป Student ID begin with "60" "61" "62" | 6034567890@student.chula.ac.th |
ตรวจสอบอีเมลตัวเองได้ 2 วิธีดังนี้
1. นิสิตใหม่สามารถทราบอีเมลของตัวเองได้จากหน้ารับรหัสผ่าน ขั้นตอนเดียวกับที่นิสิตใหม่รับรหัสผ่านสำหรับใช้งาน CUNET

2. นิสิตสามารถทราบอีเมลของตัวเองได้จากระบบบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้ (CUNET Account Management)

Q : ไม่ได้รับอีเมลใด ๆ หรือไม่ปรากฎว่ามีอีเมลใน inbox เลย เป็นเพราะอะไร
A : โปรดเข้าระบบอีเมลนิสิตให้ถูกระบบ
ระบบอีเมลนิสิตจะใช้งานผ่าน Outlook เป็นแอพหนึ่งภายใต้บริการ Office 365
เข้าระบบ Office 365 ได้ที่ https://login.microsoftonline.com
เปิดเมลหน่วยงานได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 add shared folder
คลิกขวาที่ชื่อ mailbox ของส่วนตัว เลือก add shared folder

พิมพ์ชื่ออีเมลของหน่วยงาน กด search

จะปรากฎชื่ออีเมลหน่วยงาน กด add

อีเมลหน่วยงานจะถูกเพิ่มแยกต่างหากจาก mailbox ส่วนตัว

ข้อดีสำหรับวิธีนี้ สามารถตรวจสอบอีเมลส่วนตัว กับ หน่วยงานได้ในเวลาเดียวกัน
วิธีที่ 2 open another mailbox
คลิกที่ชื่อส่วนตัว เลือก open another mailbox

พิมพ์ชื่อเมลหน่วยงาน กด search

ปรากฎอีเมลหน่วยงาน กด open

จากนั้นจะได้อีกหน้าต่างหนึ่ง แยกคนละหน้ากับเมลส่วนตัว
ข้อดีสำหรับวิธีนี้ แยกหน้าต่างของเมลหน่วยงานออกมาโดยเฉพาะ
ส่งเมลในนามหน่วยงาน
หากต้องการส่งเมลหรือตอบเมลในนามหน่วยงาน

1. ในหน้าเขียนเมล คลิกที่ more option เลือก show from

จะปรากฎบรรทัด from เพิ่มขึ้นมา คลิกเลือกชื่อเมลหน่วยงาน หากยังไม่มีให้เลือกครั้งแรกต้องพิมพ์ในช่อง from โดยลบชื่อเมลส่วนตัวออกก่อนแล้วพิมพ์ชื่อเมลหน่วยงาน


ในครั้งต่อ ๆ ไปก็จะสามารถคลิกเลือกชื่อเมลหน่วยงานได้
1. ชื่ออีเมลหน่วยงาน รหัสผ่าน CUNET ส่วนบุคคลของท่านเอง แล้วกด Manual Setup
2.

3.

4.

[link]
การใช้บริการต่าง ๆ |
นิสิตสามารถใช้ CUNET account กับบริการของมหาวิทยาลัย, บริการไอที และระบบต่าง ๆ เช่น 1. ระบบลงทะเบียนเรียน ของสำนักงานการทะเบียน (www.reg.chula.ac.th) 2. ระบบอีเมลนิสิต (https://outlook.com/chula.ac.th) 3. ระบบ Blackboard (https://blackboard.it.chula.ac.th) 4. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย ChulaWiFi 5. ระบบเครือข่ายเสมือน (VPN) ด้วยโปรแกรม Cisco AnyConnect 6. บริการซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ได้แต่ SPSS, Trend Micro, MATLAB 7. บริการออนไลน์ (Cloud) ได้แต่ Office 365 for Education, Google G-Suite for Education |
username เป็นอย่างไร
- นิสิตก่อนปี 2562 ใช้เพียง 8 ตัวแรกเท่านั้น เช่น 6134567890 Username ก็จะเป็น 61345678 (โดยไม่มี 2 ตัวท้าย)
- นิสิตปี 2562 เป็นต้นไป ใช้ 10 ตัว เช่น 6234567890 username ก็จะเป็น 6234567890
ถ้าจบแล้วจะมี account หรือไม่ |
เมื่อจบการศึกษาแล้วสำนักงานการทะเบียนจะส่งข้อมูลมายังไอทีเพื่อ lock account จะไม่สามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้และเมื่อรับปริญญาเสร็จสิ้นจะดำเนินการลบ account หากต้องการข้อมูลนิสิต, ผลการศึกษา ฯลฯ ให้ติตต่อสำนักงานการทะเบียนโดยตรง |
CUNET account สำหรับบุคลากร |
CUNET account คือบัญชีผู้ใช้ของนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยUsername คือ 8 ตัวอักษรโดยใช้นามสกุลตัวแรกและตามด้วยชื่อ เช่น ชื่อ Somchai Jaidee Username ก็จะเป็น jsomchaiPassword คือที่ได้รับแจ้งในใบแจ้งข้อมูล (หรือตัวเดียวกันกับที่ใช้ระบบอีเมล, อินเตอร์เน็ต) |
ขอใช้ CUNET account |
แบบฟอร์มขอใช้บริการอินเตอร์เน็ต (สำหรับบุคลากร)ยื่นเรื่องผ่านหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานทำบันทึกข้อความขอสมัครใช้งาน CUNET Account ส่งมาทางระบบ LessPaper กรณีขอสมัครตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โปรดแนบไฟล์ชนิด Excel เท่านั้น เพื่อความถูกต้องของข้อมูล และความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ ตามไฟล์ Template Request CUNET ไฟล์ตัวอย่าง |
การใช้บริการต่าง ๆ |
บุคลากรสามารถใช้ CUNET account กับบริการของมหาวิทยาลัย, บริการไอที และระบบต่าง ๆ เช่นระบบอีเมลระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย ChulaWiFiระบบเครือข่ายเสมือน (VPN) ด้วยโปรแกรม Cisco AnyConnect |
เปลี่ยนรหัสผ่านอย่างไร |
การเปลี่ยนใหม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองผ่านระบบ Account Portal https://accountportal.it.chula.ac.th |
กรณีนิสิตและบุคลากรคนไทย : ใช้งานผ่านระบบ Account Portal สำหรับนิสิตและบุคลากร (คนไทย) เลือกหัวข้อ "เปลี่ยน/ลืมรหัสผ่าน" และใช้แอปพลิเคชัน ThaID สแกน QR Code https://accountportal.it.chula.ac.th
กรณีนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ : ส่งภาพถ่ายยืนยันตัวตน โดยถ่ายภาพตนเองถือพาสปอร์ต หรือบัตรประจำตัวนิสิต ในระยะใกล้ เพื่อให้สามารถมองเห็นใบหน้าและรายละเอียดบนพาสปอร์ตได้ชัดเจน ส่งอีเมลมายัง help@chula.ac.th พร้อมระบุข้อความว่า "ขอรีเซ็ตรหัสผ่านใหม่" เจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลตอบกลับให้ทางอีเมลภายใน 2 วันทำการ
[link]
สำหรับ browser บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เมื่อเปิดเว็บไซต์บางเว็บแล้วแสดงผลแตกต่างจากการเปิดผ่าน PC Desktop นั่นเป็นเพราะเว็บไซต์นั้นออกแบบการแสดงผลที่แตกต่างกัน หากต้องการเปลี่ยนการแสดงผลให้เป็นเช่นเดียวกับ desktop แล้วสามารถทำได้ตามวิธีดังนี้
Browser app ที่มาพร้อมเครื่อง เช่น samsung internet https://www.samsung.com/au/support/mobile-devices/using-samsung-internet/ โดยดูหัวข้อ Desktop Version
Chrome https://browserhow.com/how-to-view-full-desktop-site-on-chrome-android-phone/
Firefox https://support.mozilla.org/th/kb/how-do-i-change-desktop-view-firefox-android
safari https://browserhow.com/how-to-request-and-view-desktop-site-on-safari-ios-ipados/
[link]
เพื่อใช้งานกับเครื่องสาธารณะ และไม่ต้องการให้มีการจดจำข้อมูล ประวัติ ของการใช้งาน และสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้แก้ปัญหาในกรณีที่เห็นว่าการเปิดใช้งานเว็บไซต์ไม่ปกติ เช่น จดจำค่าเดิม ๆ ข้อมูลไม่เปลี่ยนแปลง, การเข้าระบบมีปัญหา เป็นต้น
สำหรับ Chrome https://support.google.com/chrome/answer/95464?co=GENIE.Platform%3DDesktop&hl=en
สำหรับ Firefox https://support.mozilla.org/en-US/kb/private-browsing-use-firefox-without-history
สำหรับ safari https://support.apple.com/guide/safari/use-private-browsing-ibrw1069/mac
[link]
การแก้ไขปัญหาในบางกรณีที่เว็บไซต์ไม่อัพเดท ทำให้การเปิดใช้งาน, การเข้าระบบ, ข้อมูลที่แสดงไม่เป็นปัจจุบัน สามารถทำการ clear browsing data (cache, cookie, history, temporary)
สำหรับ Microsoft Edge https://support.microsoft.com/en-us/microsoft-edge/view-and-delete-browser-history-in-microsoft-edge-00cf7943-a9e1-975a-a33d-ac10ce454ca4
สำหรับ Google Chrome https://support.google.com/chrome/answer/2392709?co=GENIE.Platform%3DDesktop&hl=en
สำหรับ Firefox https://support.mozilla.org/en-US/kb/delete-browsing-search-download-history-firefox
สำหรับ safari https://support.apple.com/guide/safari/clear-your-browsing-history-sfri47acf5d6/mac
ตรวจสอบว่า Windows รุ่นอะไร และเป็น 32Bit หรือ 64Bit
ซอฟต์แวร์ที่เป็น License ของมหาวิทยาลัยในรูปแบบการยืมใช้งาน
- โปรแกรม zoom
วิธีการยืมใช้งานซอฟต์แวร์ดูได้ที่ https://www.it.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/license-portal.pdf